จากอดีตถึงปัจจุบัน… สู่การเปลี่ยนผัน “การเกี้ยวพาราสี”



ในชีวิตปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารของมนุษย์อย่างเราๆ นั้น ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ยิ่งในช่วงศตวรรษที่ ๒๑ นี้ การสื่อสารของมนุษย์ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยหลายๆ ด้านที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต จนมีคำพูดๆ หนึ่งว่า การสื่อสารคือ ชีวิต  อาจฟังดูเกินจริงไปบ้าง แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ ว่ามันไม่ใช่เรื่องจริง

การสื่อสารในชีวิตประจำของมนุษย์ มีหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านอาชีพ เช่น นักพูด ก็จะสื่อสารกับผู้อื่นด้วยการพูด การเจรจาหรือแม้กระทั่ง นักธุรกิจ ก็ต้องสื่อสารกับผู้อื่น เพื่อติดต่องานหรือสื่อสารกันในที่ประชุมทั้งนี้การสื่อสารของมนุษย์นั้น บางครั้งก็จะสื่อสารกันเพื่อจุดประสงค์บางสิ่งบางอย่าง เช่น ชาย หญิง จะสื่อสารกันเพื่อพูดคุยกันหรือที่เราจะเรียกกันว่า เกี้ยวพาราสีกันนั่นเอง
เกี้ยวพาราสี คือ
    หากเราจะเอ่ยถึงการเกี้ยวพาราสีนั้น เราก็อาจจะนึกถึง การพูดคุย การหยอกเย้าเพื่อจีบกันของคนในสมัยก่อน ซึ่งหมายรวมถึงสัตว์ด้วย ว่าการเกี้ยวพาราสีคือการเลือกคู่ของสัตว์ต่างๆ  

     ราชบัณฑิตยสภา. (ย่อหน้า ๑). ได้ให้ความหมายของคำว่า เกี้ยว ไว้ว่า เกี้ยวเป็นคำกริยา หมายถึง รัด พันแน่น ติดแน่น เกี้ยว เกี้ยวพานหรือเกี้ยวพาราสี ยังหมายถึง พูดแทะโลม พูดให้รักในเชิงชู้สาว หรือในอีกความหมายหนึ่ง
     เกี้ยวพาราสี คือ การที่หนุ่มสาวพยายามแสวงหาบุคคลที่ตรงกับที่เขามุ่งหวังไว้ ให้ตรงกับใจ เพื่อจะมาเป็นคู่ครองในอนาคต ดังนั้น เกี้ยวพาราสีจึงหมายถึง การที่ชายหรือหญิงต้องการผูกสัมพันธ์ไมตรีที่ดีต่อกันฉันใด ฉันหนึ่งนั่นเอง

http://file2.answcdn.com/


       ในบางครั้ง การเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิงนั้น จะใช้คำเรียกเฉพาะบางคำซึ่งเป็นคำที่ตกลงกันและเข้าใจทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ทราบว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมาผูกสัมพันธ์ไมตรี ถ้าจะให้พูดว่า วันนี้เราจะมาเกี้ยวพาราสีก็คงจะหมดอารมณ์เสียก่อน ดังนั้นจึงมีการกำหนดคำเพื่อให้ทราบและเข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่ายขึ้น
      ในสมัยอดีต การเดินทางส่วนใหญ่จะใช้เรือในการเดินทางเพราะในสมัยอดีต บ้านเรือนส่วนมากจะปลูกใกล้กับแม่น้ำ การเดินทางไปที่ต่างๆ จึงใช้แม่น้ำในการเดินทาง ไม่ว่าจะไปทำบุญ ขายของ หรือแม้กระทั่งไปพบปะกับหญิงที่หมายปอง ก็จะใช้เรือในการเดินทาง จึงเกิดการเล่นพื้นบ้านขึ้น นั่นก็คือ เพลงเรือ

       เพลงเรือ ถือเป็นการเกี้ยวพาราสีกันอย่างหนึ่ง ของหนุ่มสาวในอดีต เพราะถือเป็นการประชันไหวพริบกัน ระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยการประชันนั้น จะมีการต่อเพลงเรือกัน โดยที่มีการใช้คำต่างๆ เพื่อให้เกิดความหมายว่า ฉันหมายปองเธออยู่

http://kanchanapisek.or.th/

          ภิญโญ จิตต์ธรรม. (๒๕๒๐, หน้า ๒). กล่าวไว้ว่า สมัยอดีตหนุ่มสาวจะไปถอนจูด* เมื่อเข้าป่าจูดจะมองไม่เห็นหน้ากันมากนัก เพราะต้นจูดจะขึ้นหนาแน่นมาก จึงมีการเอื้อนกลอนกัน ในทำนองทักทายฝ่ายตรงข้าม เมื่ออีกฝ่ายตอบรับ ฝ่ายชายก็จะพูดจาพากลอนไปในเชิงลวนลามบ้าง เชิงหว่านล้อมบ้าง เป็นแบบนี้ทุกครั้งไป ดังนั้น จึงเข้าใจกันว่า ป่าจูดหรือจูด คือการทักทายกัน ระหว่างชายหญิงนั่นเอง
          หรืออีกคราหนึ่ง เมื่อเสร็จกิจจากการทำบุญ     ทำทานที่วัด ฝ่ายหญิงจะพายเรือกลับเรือนอยู่อาศัยของตนเอง ส่วนฝ่ายชายก็จะพายเรือมาหาฝ่ายหญิงที่ท่าน้ำของฝ่ายหญิง แล้วจึงเอื้อนเพลงเรือต่อกันไปต่อกันมาเรื่อยๆ จึงเข้าใจกันว่า คำว่า เทียบท่า หมายถึง การขอโอกาสจากฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีที่มาจากการเทียบเรือเข้าท่าน้ำของฝ่ายชายนั่นเองหรืออย่างคำว่า เซ้อ ซึ่งหมายถึง การเตือนฝ่ายชายที่หมายปองฝ่ายหญิง แต่ไม่รีบมาสู่ขอ ระวังจะถูกผู้ชายคนอื่นมาชิงไปก่อน  ภิญโญ จิตต์ธรรม. (๒๕๒๐, หน้า ๓๔). คำว่า เซ้อ นั้นมาจากคำว่า ซื้อ ที่หมายถึง  การซื้อฝ่ายหญิงด้วยเงิน ด้วยทอง หรืออีกความหมายคือ การมาสู่ขอฝ่ายหญิงนั่นเอง

*   จูก  เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ในน้ำ ลำต้นคล้ายกก แต่ต้นกลวงและเล็กกว่ากก ใช้ในการทำสาดสอบและอื่นๆ

           ซึ่งคำที่เกี่ยวกับการเกี้ยวพาราสีในสมัยโบราณ มักจะเป็นเพลงกลอนเสียส่วนใหญ่ ซึ่งต่างจากปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ก็เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่เปลี่ยนไป รวมทั้งวัฒนธรรมต่างๆ จากอดีตก็เริ่มจางหายไป  ปัจจุบันจึงไม่มีการใช้คำเก่าเหล่านั่นแล้ว แต่ในปัจจุบันก็ใช้คำใหม่ ที่เกิดขึ้นมาใช้แทนคำเก่าที่หายไป ดังเช่นคำว่า แอ๊ว
        แอ๊ว หมายถึง การยั่วยวนเพศตรงข้ามให้หันมาสนใจเราหรือทำให้ตัวเองดูเป็นจุดสนใจมากขึ้น ตัวอย่างเช่น พลอยเห็นบอสนั่งอยู่คนเดียว จึงเข้าไปแอ๊วบอส เพื่อหวังให้บอสสนใจ เป็นต้น
         นอกจากนั้นก็ยังมีคำอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเกี้ยว  พาราสีอีกมากมาย อาทิเช่น จีบ หมายถึง การเข้าไปพูดคุย เข้าไปทักทาย ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และมีอีกหนึ่งคำ ที่มีความหมายคล้ายกับคำว่า จีบ นั่นก็คือคำว่า ดิล ซึ่งหมายถึง การพูดคุย การเข้าไปทักทาย ได้เหมือนกัน 

http://Dek-D.com

        บางครั้งเมื่อเราเจอคนที่เราหมายปองในขณะที่เดินหรืออยู่ในระยะที่อีกฝ่ายได้ยิน เราก็จะพูดแทะโลมหรือแสดงอาการ เพื่อให้อีกฝ่ายทราบว่าเรากำลังสนใจเขาอยู่ ซึ่งแบบนี้จะเรียกว่า เต๊าะ หมายถึง การพูดหรือการแสดงอาการเลียบเคียงให้พอใจเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ

จากคำเก่าสู่คำใหม่
            จากทั้งสองยุคสมัย จะสังเกตว่าคำจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง เป็นเพราะ สมัยอดีตจะยึดหลักของธรรมชาติ ทำให้คำส่วนใหญ่ จะมีที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งต่างจากคำในปัจจุบัน จะยึดหลักของคำที่มาจากต่างประเทศ ทั้งนี้ แม้คำจะต่างกันออกไป แต่สิ่งที่เหมือนกัน นั่นก็คือ ความหมายของคำ ที่ต้องการสื่อไปในทางการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายและหญิงที่ยังคงเหมือนเดิม จากอดีตสู่ปัจจุบัน..
           แม้อดีตจะล่วงเลยมาแล้ว และผู้คนส่วนใหญ่ยังยึดถือว่าคำในปัจจุบันถูกต้องเสมอ แต่คำในอดีตนั้นก็ยังสามารถใช้ได้ แม้มันจะเป็นคำเก่าก็ตาม แต่เราก็คงปฎิเสธไม่ได้ว่า คำเหล่านั้นเก่าเกินกว่าจะนำมาใช้แล้วในปัจจุบัน

 http://www.clipmass.com/story/110292

คุณค่าของคำ
           แม้อดีตจะล่วงเลยมานานแล้ว แต่ก็ถือได้ว่า อดีตคือตัวแปรสำคัญที่เป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงมาจนสู่ยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงอาจจะส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมของเราบางอย่างไป แต่อย่างน้อย เราก็สามารถศึกษาวัฒนธรรมต่างๆ เหล่านั้นได้จาก คำหรือการเล่นต่างๆ พื้นบ้าน เพราะคำ ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าในอดีตบ้านเมืองมีลักษณะเป็นอย่างไร หรือพูดง่ายๆ ก็คือ คำ สามารถบากเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตได้ ดังนั้นจึงถือว่า  คำในอดีต คือสิ่งสำคัญที่จะเชื่อมโยงอดีตและปัจจุบันให้เข้ากันอย่างกลมกลืน



เอกสารอ้างอิง
ภิญโญ จิตต์ธรรม. (๒๕๒๐). เพลงร้องเรือ หรือ เพลงกล่อมเด็ก. กรุงเทพฯ: การศาสนา
ราชบัณฑิตยสภา. (ม...). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..๒๕๕๔. สืบค้น ๑๖ พฤศจิกายน,    
            ๒๕๕๙. จาก http://www.royin.go.th/dictionary/index.php
ราชบัณฑิตยสภา. สืบค้น ๑๖ พฤศจิกายน,  ๒๕๕๙. จาก http://www.royin.go.th/?knowledges=เกี้ยว-
            ๑-๒-มกราคม-๒๕๕๖


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม